วันอังคารที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2555

บุคคลสำคัญของชาวต่างชาติ


ศาตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี







ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี มีนามเดิมว่า คอร์ราโดเฟโรจี ( Professor Corrado Feroci ) เป็นชาวนครฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี เกิดเมื่อ วันที่15 กันยายน พ.ศ. 2435 ณ. ตำบล San Giovanni บิดาชื่อ นาย ArtudoFeroci และมารดาชื่อนาง Santina Feroci มีอาชีพค้าขาย

เข้าศึกษาในระดับชั้นประถม เมื่อปีพ.ศ.2441ภายหลังจบหลักสูตร 5 ปีจึงเข้าศึกษาในโรงเรียนมัธยมอีก 5 ปี จากนั้นจึงเข้าศึกษาทางด้านศิลปะในโรงเรียนราช-วิทยาลัยศิลปะ แห่

งนครฟลอเรนซ์ จบหลักสูตรวิชาช่าง 7 ปีในขณะที่มีอายุ 23 ปีและได้รับประกาศนียบัตรช่างปั้นช่างเขียนซึ่งต่อมาได้สอบคัดเลือกรับปริญญาบัตรเป็นศาสตราจารย์มีความรอบรู้ทางด้านประวัติศาสตร์ศิลป์วิจารณ์ศิลป์และปรัชญาโดยเฉพาะมีความสามารถทางด้านศิลปะแขนงประติมากรรมและจิตรกรรม

ในสมัยรัชกาลที่ 6 มีพระประสงค์จะหาช่างปั้นมาช่วยปฏิบัติราชการเพื่อฝึกฝนให้คนไทยสามารถปั้นรูปได้อย่างแบบตะวันตกและสามารถมีความรู้ถึงเทคนิคต่างๆในงานมาปฏิบัติราชการกับรัฐบาลไทยทางรัฐบาลอิตาลีจึงเสนอนายคอร์ราโเฟโรจี มาพร้อมทั้งคุณวุฒิและผลงาน ซึ่งรัฐบาลไทยก็ยินดีรับเข้าเป็นข้าราชการในตำแหน่งช่างปั้น กรมศิลปากรกระทรวงวัง





เมื่อวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2466 เมื่ออายุย่างเข้า32 ปีโดยได้รับเงินเดือนๆละ 800 บาทค่าเช่าบ้าน 80 บาท และต่อมาในปี พ.ศ.2469 ศาสตราจารย์ศิลป์พีระศรีได้ดำรงตำแหน่งอาจารย์ ช่างปั้นหล่อแผนกศิลปากรสถานแห่งราชบัณฑิตยสภาได้รับ เงินเดือนๆละ 900 บาทต่อมาได้ย้ายมาเป็นช่างปั้น สังกัดอยู่ในกองประณีตศิลปกรรมกรม ศิลปากรกระทรวงธรรมการ
ท่านได้วางหลักสูตรอบรมกว้างๆและทำการสอนให้แก่ผู้ที่สนใจในวิชาประติมากรรมทั้งภาค ทฤษฎีและภาคปฏิบัติผู้ได้รับการอบรมรุ่นแรกๆส่วนมากสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนเพาะ- ช่างได้แก่ สาย ประติมาปกร สุข อยู่มั่น ชิ้น ชื่อประสิทธิ์ สวัสดิ์ ชื่นมะนา และ แช่ม แดงชมพู

ผู้ที่มาอบรมฝึกงานกับศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมทั้งสิ้นเพราะทางราชการมีนโยบายส่งเสริมช่างปั้นช่างหล่อให้มีคุณภาพและมีมาตรฐาน ซึ่งต่อมาบุคคลเหล่านี้ได้มาเป็นผู้ช่วยช่างและบางคนก็เข้ารับราชการช่วยแบ่งเบาภาระงาน และช่วยทำให้กิจการปั้นหล่อของกรมศิลปากรเจริญขึ้นอย่างรวดเร็วเมื่อทางราชการเห็นความสำคัญของการศึกษาศิลปะตามแนวในปัจจุบันจึงได้ขอให้ศาสตราจารย์ศิลป์ พระศรี เป็นผู้วางหลักสูตรการศึกษาให้มีมาตรฐานเดียวกันกับ โรงเรียนศิลปะในยุโรป
ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี จึงเริ่มวางหลักสูตรวิชาจิตรกรรมและประติมากรรมขึ้นในระยะเริ่มแรกชื่อ " โรงเรียนประณีตศิลปกรรม " ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น"โรงเรียนศิลปากรแผนกช่าง"และในปีพ.ศ.2485กรมศิลปากรได้แยกจากกระทรวง ศึกษาธิการไปขึ้นอยู่กับสำนักนายกรัฐมนตรีและรัฐบาลในขณะนั้นโดย ฯพณฯจอมพลป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีตระหนักถึงความสำคัญของศิลปะว่าเป็นวัฒนธรรมที่สำคัญยิ่งสาขาหนึ่งของชาติ จึงได้มีคำสั่งให้อธิบดีกรมศิลปากรในขณะนั้นคือพระยาอนุมานราชธนดำเนินการปรับปรุงหลักสูตร และ ตราพระราชบัญญัติยกฐานะโรงเรียนศิลปากรขึ้นเป็นมหาวิทยาลัยศิลปากรมีคณะจิตรกรรมประติมากรรม เป็นคณะวิชาเดียวของมหาวิทยาลัยศิลปากรเปิดสอนเพียง2 สาขาวิชาคือ สาขาจิตรกรรมและสาขาประติมากรรมและมี ศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรีเป็นผู้อำนวยการสอนและดำรงตำแหน่งคณบดี คนแรกดังนั้นการเรียนการสอนศิลปะในสาขาวิชาศิลปะจึงเริ่มดำเนินการในระดับปริญญาขึ้นตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

ในปีพ.ศ.2491 ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรีได้รับมอบหมายจากรัฐบาลไทยให้นำศิลปะไทยไปแสดง ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ในปีนี้ท่านได้เดินทางกลับไปประเทศอิตาลีและเดินทางกลับมาประเทศไทยอีกครั้งในต้นปีพ.ศ.2492โดยกลับมาใช้ชีวิตเป็นครูสั่งสอนลูกศิษย์ลูกหาทางด้านศิลปะที่คณะจิตรกรรม และประติมากรรม

ในปีพ.ศ.2496 ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรีได้รับหน้าที่อันมีเกียรติคือเป็นประธานกรรมการสมาคมศิลปะแห่งชาติซึ่งขึ้นอยู่กับสมาคมศิลปะนานาชาติ(International Association of Art) ในปีพ.ศ.2497ได้เป็นผู้แทนศิลปินไทยไปร่วมประชุมศิลปินระหว่างชาติ ครั้งแรกที่ประเทศออสเตรียท่านได้นำเอกสารผลงานศิลปะและบทความชื่อศิลปะร่วมสมัยในประเทศไทย(Contemporary Art inThailand)ไปเผยแพร่ในการประชุมด้วยทำให้นานาชาติรู้จักประเทศไทยดีขึ้นและนับเป็นคนแรกที่ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนศิลปะระหว่างศิลปินไทยและศิลปินต่างประเทศขึ้นศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี ถึงแก่กรรมที่โรงพยาบาลศิริราช เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2505 รวมสิริอายุได้ 70 ปี


บุคคลสำคัญของชาติไทย


จอมพลป.พิบูลสงคราม


ประวัติ

  • ชื่อเดิม แปลก ขีดตะสังคะ
  • เกิดเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2440

ณ บ้านแพ ปากคลองบางเขน อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี

  • เป็นบุตรของนายขีด กับนางสำอาง ขีดตะสังคะ
  • สมรสกับท่านผู้หญิงละเอียด (พันธุ์กระวี)
  • ถึงแก่อสัญกรรมด้วยโรคหัวใจวาย ณ บ้านพักที่ตำบลซากามิโอโน ซานกรุงโตเกียว เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2507 รวมอายุได้ 67 ปี

[แก้ไข] การศึกษา

  • โรงเรียนกลาโหมอุทิศ วัดเขมาภิรตาราม จังหวัดนนทบุรี
  • โรงเรียนนายร้อยทหารบก
  • โรงเรียนเสนาธิการ
  • โรงเรียนเสนาธิการทหารบก ประเทศฝรั่งเศส

ประวัติการทำงาน

  • พ.ศ.2462 ประจำกรมทหารบกปืนใหญ่ที่ 1 รักษาพระองค์
  • พ.ศ.2466 ประจำกรมยุทธศาสตร์ทหารบก
  • พ.ศ.2475 รองผู้บังคับการทหารปืนใหญ่
  • พ.ศ.2476 รองผู้บัญชาการทหารบก และรองผู้บังคับการมณฑลทหารราบที่ 1
  • พ.ศ.2483 ผู้บัญชาการทหารบก
  • พ.ศ.2483 ผู้บัญชาการหารสูงสุดและแม่ทัพบก
  • พ.ศ.2490 ผู้บัญชาการทหารแห่งประเทศไทย


[แก้ไข] ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง

1. รัฐบาลที่ 9 16 ธันวาคม 2481 -6 มีนาคม 2485

2. รัฐบาลที่ 10 7 มีนาคม 2485 -1 สิงหาคม 2487

3. รัฐบาลที่ 21 8 เมษายน 2491 - 24 มิถุนายน 2492

4. รัฐบาลที่ 22 25 มิถุนายน 2492 - 29 พฤศจิกายน 2494

5. รัฐบาลที่ 23 29 พฤศจิกายน 2494 - 6 ธันวาคม 2494

6. รัฐบาลที่ 24 6 ธันวาคม 2494 - 23 มีนาคม 2495

7. รัฐบาลที่ 25 24 มีนาคม 2495 - 26 กุมภาพันธ์ 2500

8. รัฐบาลที่ 26 21 มีนาคม 2500 - 16 กันยายน 2500



บทบาททางการเมือง

  • พ.ศ. 2476 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ประเภท 2
  • พ.ศ. 2477 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
  • พ.ศ. 2481 นายกรัฐมนตรีสมัยที่ 1 รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงมหาดไทย และรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงกลาโหม
  • พ.ศ. 2482 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
  • พ.ศ. 2484 ญี่ปุ่นยกพลขึ้นบกในประเทศไทย จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ให้ญี่ปุ่นเดินทัพผ่านไทย และในที่สุดได้ทำสัญญาพันธมิตรทางการทหารและเศรษฐกิจกับญี่ปุ่น ซึ่งเป็นผลให้ภายหลังเมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 เสร็จสิ้นลง จอมพลแปลก พิบูลสงคราม จึงต้องตกเป็นผู้ต้องหาอาชญากรสงคราม และถูกจับกุมขังเป็นเวลาหลายเดือน
  • พ.ศ. 2485 นายกรัฐมนตรีสมัยที่ 2 รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงการต่างประเทศ
  • พ.ศ .2491 นายกรัฐมนตรีสมัยที่ 3 และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
  • พ.ศ. 2492 นายกรัฐมนตรีสมัยที่ 4 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
  • พ.ศ. 2494 นายกรัฐมนตรีสมัยที่ 5
  • พ.ศ. 2494 นายกรัฐมนตรีสมัยที่ 6
  • พ.ศ. 2495 นายกรัฐมนตรีสมัยที่ 7 และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม
  • พ.ศ. 2497 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐการ
  • พ.ศ. 2498 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
  • พ.ศ. 2500 นายกรัฐมนตรีสมัยที่ 8

ผลงานที่สำคัญ

นโยบายสร้างชาติและการปลูกฝังความรู้สึกชาตินิยมให้แก่ประชาชนอย่างมากมาย เช่น การเปลี่ยนชื่อประเทศสยามมาเป็นประเทศไทย การเรียกร้องดินแดนทางด้านอินโดจีนคืนจากฝรั่งเศส การปลูกฝังความนิยมไทย และการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมไทยบางอย่าง เช่น การให้สตรีเลิกนุ่งโจงกระเบนแล้วหันมาสวมกระโปรงแทนการให้ประชาชนเลิกกินหมากพลู การตั้งชื่อผู้ชายให้มีลักษณะเข้มแข็ง ผู้หญิงให้แสดงถึงความอ่อนหวาน

การส่งเสริมการศึกษาวิชาการแก่ประชาชน โดยเฉพาะได้จัดตั้งมหาวิทยาลัยเฉพาะวิชา เช่น มหาวิทยาลัยแพทย์ศาสตร์ (มหิดล) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และมหาวิทยาลัยศิลปากร เป็นต้น